วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

กะเหรียง

ภาษากะเหรี่ยง



หมายเหตุ ภาษากะเหรี่ยงที่ใช้กันอยู่ในหน้านี้ คือ กะเหรี่ยงสะกอ ซึ่งต่างจากกะเหรี่ยงโปว์

ลำดับที่
ภาษาเขียน
ภาษาพูด
ความหมาย
1.
โอ๊ะมื่อโชเปอ
คำทักทาย/สวัสดี
2.
เนอะ โอ๋ ชู่ อะ
สบายดีไหม/ครับ/ค่ะ
3.
นา เนอะ มี ดี หลอ
คุณชื่ออะไร
4.
ยา เจ่อ มี เลอะ/ ชิ
ผมชื่อ/เล็ก
5.
เน่อ โอ๊ะ พา หลอ
คุณอยู่ที่ไหน
6.
ยา เจ่อ โอ๊ะ เลอะ /เจียงฮาย
ผมอยู่ที่/เชียงราย
7.
นา เน่อ นี่ แปว หลอ
คุณอายุเท่าไหร่
8.
ซะ คือ เลอะ เน่ สิ ยา บะ นา
ยินดีที่ได้รู้จักกับคุณ
9.
คี เลอะ นา เน่อ เก๊อะ บะ ต่า โช่ เง
ขอให้คุณจงโชคดี
10.
ตะ บลือ
ขอบคุณ/ครับ/ค่ะ
11.
เยอ แอ่ะ นา
ฉันรักเธอ
12.
วี ซะ จู
เป็นคำกล่าวขออภัย/ขอโทษ
13.
ดี หลอ อี
เท่าไหร่ครับ/ค่ะ
14.
มา เจอ ยา เจ๋
ช่วยฉันด้วย
15.
ต่า นี ยา อี
วันนี้
16.
งอ คอ
ตอนเช้า
17.
มื่อ ทู่
ตอนบ่าย
18.
มื่อ หา ลอ
ตอนเย็น
19.
เน่อ จะ แหล
อะไรนะ
20.
เอาะ เม
กินข้าว
21.
เอาะ ที
กินนํ้า
22.
พะ แหละ ตอ หลอ
ที่ไหน
23.
เย่อ ซะ เก่อ ยื่อ บะ นา
ฉันคิดถึงเธอ
24.
โอ๋ ชู่
สบายดี
25.
ชิ้ หลอ
เมื่อไหร่
26.
แล พะ หลอ เก
ไปไหนมา
27.
บะ หลอ
ทำไม
28.
เต่อ บะ เน่อะ มี บ๋า
ไม่เป็นไร
29.
มื่อ ฮา นี
เมื่อวาน
30.
เตอ คี เซ่อ ลู่ย แย่
คือ เน๊ย ค้อ ควี เต่อชี
หนึ่ง/สิบ/ท่องให้ขึ้นใจนะครับ


ประวัติความเป็นมาของชนเผ่ากะเหรี่ยง
   
  กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี พบมากที่ อำเภอ แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอ อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว พบที่ อำเภอ ขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย ชนเผ่า "ปกากะญอ" เป็นชนเผ่าที่บอกกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมานับร้อยนับพันเรื่อง เรียงร้อยเก็บไว้ในเเนวของนิทาน อาจจะไม่ใช่หลักฐานที่เเน่ชัด เเต่ก็พยายามที่จะเล่าสืบทอดให้ลูกหลานได้รู้ ถึงความเป็นมาของเผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมของตัวเอง เล่ากันตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าสร้างโลก พระองค์ได้สร้างมนุษย์ คู่แรก คือ อดัม กับเอวา ทั้งสองคนได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสวน (เอเดน) ที่พระองค์ได้สร้างไว้ ทั้งสองได้ทำ ผิดกฎ ของสวรรค์ จึงถูกเนรเทศลงมาใช้กรรมอยู่ในโลกจนกระทั่งมีลูกหลานสืบเชื้อสายมาจนถึงทุกวันนี้



กล่าวถึงตำนาน      ที่ตั้งของชนเผ่ากะเหรี่ยง ตั้งอยู่ที่ภูเขา "ทอทีปล่อก่อ" มีผู้เฒ่า "เทาะแมป่า" เป็นหัวหน้า หมู่บ้านสืบเชื่อสายมาจนลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง เมื่อที่ทำกินไม่พอเทาะแมป่าจึงพาลูกหลานอพยพย้ายถิ่นฐาน ระหว่างการเดินทางว่ากันว่าเทาะแมป่าเดินเร็วมากลูกหลานพากันหยุดพัก เทาะแมป่าไม่สนใจลูกหลาน พยายามที่จะเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆ จนมาหยุดตามที่ต่างๆ แถบแถวลุ่มน้ำสาละวินบ้าง ลุ่มน้ำอิระวดีบ้าง กระทั้งสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ จนมาถึงทุกวันนี้มีกะเหรี่ยง อาศัยอยู่กระจัดกระจาย ทั่วไปในเขตพม่า ตลอดจนในเขตภาคเหนือ และตะวันออกของประเทศไทย เอกสารบางชนิดระบุว่าคนกระเหรี่ยงอาศัยอยู่ในตะวันออกเฉียงไต้ของประเทศจีน เมื่อถูกขับไล่หนี ลงมาตั้งหลักในระว่างกลางเขตพม่ากับมอญ ตอนหลังถูกพม่าบีบ ต้องอพยพอยู่บนภูเขา เอกสารบางชิ้นระบุว่าคนกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยล้วนมาจากพม่าทั้งสิ้น เพียงแต่ ไม่มีเอกสารยืนยันว่าเข้ามาอยู่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บ้างก็ว่าในดินแดนล้านนา หรือก่อนโยนกด้วยซ้ำ นั้นหมายถึงการกำเนิดเมืองเชียงใหม่

การแต่งกาย





หญิงสาวสวมชุดขาว
หนุ่มเสื้อแดงสถานภาพโสด
แม่เฒ่ากะเหรี่ยงสะกอ
สมาชิกกะเหรี่ยงสะกอ บ. ห้วยขม

กะเหรี่ยงในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กะเหรียงสะกอ กะเหรี่ยงโป และ อีก 2 กลุ่ม คือคะยา หรือบะเว และตองสู หรือพะโอ กะเหรี่ยงกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้มีวัตนธรรมคล้ายคลึงกัน แต่การแต่งกายของแต่ละกลุ่มมีลักษณะเฉพาะของตนเองที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้น ลักษณะการแต่งกายจึงเป็นส่วนหนึ่ง ที่สามารถบ่งชี้ให้เห็นได้ชัดเจนถึงเอกลักษณ์ของกะเหรี่ยงแต่ละที่ แต่ละกลุ่ม

ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัด กาญจนบุรี ก็มีลวดลายตกแต่งเสื้อผ้าแตกต่างจากภาคเหนือ อย่างเชียงรายที่มีการนำแฟชั่นใหม่ ๆ มาทำซึ่งมีลักษณะที่แปลก และแวกแนวออกไป เช่น ทำผ้าปูโต๊ะที่มีลวดลายใหม่ ๆ ที่ประยุกต์ และมีลายปักแบบลายไทย บ้างก็ทำสะไบ เพื่อขายออกยังมีลูกเล่นลวดลายอื่น ๆ ที่เพิ่มอีกมากมายซึ่งเป็นไปตามยุคสมัย และการพัฒนาของเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามกลุ่มกะเหรี่ยงสะกอ และโปในทุกจังหวัดของประเทศไทย ยังคงรักษาลักษณะร่วมที่แสดงสถานะของหญิงสาว และหญิงแม่เรือน เช่นเดียวกัน คือ หญิงทุกวัยที่ยังไม่ได้แต่งงาน ต้องสวมชุดยาวสีขาว (เช ควา) เมื่อแต่งงานแล้วจะต้องเปลี่ยนมาเป็นสวมใส่เสื้อสีดำ หรือที่เรียกว่า "เช โม่ ซู" และผ้าถุงคนละท่อนเท่านั้น ห้ามกลับไปสวมใส่ชุดยาวสีขาวอีก ส่วนผู้ชายทั้งกลุ่มโป และสะกอแถบภาคเหนือมักสวมกางเกงสีดำ และสีน้ำเงิน หรือกรมท่า ในขณะที่แถบจังหวัดตาก และอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มักสวมโสร่ง ลักษณะเสื้อผู้ชายวัยหนุ่มใช้สีแดงทุกกลุ่ม แต่มีลวดลายมากน้อย ต่างกัน การแต่งกายในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีปีใหม่ พิธีแต่งงาน เน้นสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ จะเห็นชัดว่าชายหนุ่ม และหญิงสาวจะพิถีพิถันแต่งกายสวยงามเป็นพิเศษ


อ้างอิง.http://karen.hilltribe.org/thai/karen-history.php..





สารคดีพันแสงรุ้ง ในศรัทธาชองคนปกาเก่อญอเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับปกาเก่อญอมากขึ้น


เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการรับนับถือศาสนาคริสต์ของชาวไทยภุเขา เผ่าปกาเกอะญอ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากรูปแบบเดิมไปสู่รูปแบบใหม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการศึกษาความแตกต่างหลากหลายนี้เองที่จะทำให้เราเข้าใจพวกเขามากข­ึ้น เพราะเราอยู่บนผืนแผ่นดืนเดียวกัน




















อ้างอิง         http://www.youtube.com/watch?v=umDiygmYnFc&feature=related 
http://www.youtube.com/watch?v=umDiygmYnFc&feature=related



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น