วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

บันเทิง


สารคดี เรื่อง สาละวินแห่งชาติพันธุ์

ปีที่ผลิต 2550

ดีวีดี และ วีซีดี เพื่อความเข้าในที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ความเดือดร้อน และการสร้างเขื่อนสาละวิน

Salween, River of Ethnic Minorities 

โครงการแม่น้ำเพื่อชีวิต www.livingriversiam.org





สาละวิน 1



สาละวิน 2



หนังสั้นของปกาเก่อญอเสียงภาษากะเหรี่ยงสกอร์






หนังสั้นเชกิ เชซู เรื่อง ราวชีวิตของปกาเก่อญอ






เพลง ซะฮะกอ




กะเหรียง

ภาษากะเหรี่ยง



หมายเหตุ ภาษากะเหรี่ยงที่ใช้กันอยู่ในหน้านี้ คือ กะเหรี่ยงสะกอ ซึ่งต่างจากกะเหรี่ยงโปว์

ลำดับที่
ภาษาเขียน
ภาษาพูด
ความหมาย
1.
โอ๊ะมื่อโชเปอ
คำทักทาย/สวัสดี
2.
เนอะ โอ๋ ชู่ อะ
สบายดีไหม/ครับ/ค่ะ
3.
นา เนอะ มี ดี หลอ
คุณชื่ออะไร
4.
ยา เจ่อ มี เลอะ/ ชิ
ผมชื่อ/เล็ก
5.
เน่อ โอ๊ะ พา หลอ
คุณอยู่ที่ไหน
6.
ยา เจ่อ โอ๊ะ เลอะ /เจียงฮาย
ผมอยู่ที่/เชียงราย
7.
นา เน่อ นี่ แปว หลอ
คุณอายุเท่าไหร่
8.
ซะ คือ เลอะ เน่ สิ ยา บะ นา
ยินดีที่ได้รู้จักกับคุณ
9.
คี เลอะ นา เน่อ เก๊อะ บะ ต่า โช่ เง
ขอให้คุณจงโชคดี
10.
ตะ บลือ
ขอบคุณ/ครับ/ค่ะ
11.
เยอ แอ่ะ นา
ฉันรักเธอ
12.
วี ซะ จู
เป็นคำกล่าวขออภัย/ขอโทษ
13.
ดี หลอ อี
เท่าไหร่ครับ/ค่ะ
14.
มา เจอ ยา เจ๋
ช่วยฉันด้วย
15.
ต่า นี ยา อี
วันนี้
16.
งอ คอ
ตอนเช้า
17.
มื่อ ทู่
ตอนบ่าย
18.
มื่อ หา ลอ
ตอนเย็น
19.
เน่อ จะ แหล
อะไรนะ
20.
เอาะ เม
กินข้าว
21.
เอาะ ที
กินนํ้า
22.
พะ แหละ ตอ หลอ
ที่ไหน
23.
เย่อ ซะ เก่อ ยื่อ บะ นา
ฉันคิดถึงเธอ
24.
โอ๋ ชู่
สบายดี
25.
ชิ้ หลอ
เมื่อไหร่
26.
แล พะ หลอ เก
ไปไหนมา
27.
บะ หลอ
ทำไม
28.
เต่อ บะ เน่อะ มี บ๋า
ไม่เป็นไร
29.
มื่อ ฮา นี
เมื่อวาน
30.
เตอ คี เซ่อ ลู่ย แย่
คือ เน๊ย ค้อ ควี เต่อชี
หนึ่ง/สิบ/ท่องให้ขึ้นใจนะครับ


ประวัติความเป็นมาของชนเผ่ากะเหรี่ยง
   
  กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี พบมากที่ อำเภอ แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอ อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว พบที่ อำเภอ ขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย ชนเผ่า "ปกากะญอ" เป็นชนเผ่าที่บอกกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมานับร้อยนับพันเรื่อง เรียงร้อยเก็บไว้ในเเนวของนิทาน อาจจะไม่ใช่หลักฐานที่เเน่ชัด เเต่ก็พยายามที่จะเล่าสืบทอดให้ลูกหลานได้รู้ ถึงความเป็นมาของเผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมของตัวเอง เล่ากันตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าสร้างโลก พระองค์ได้สร้างมนุษย์ คู่แรก คือ อดัม กับเอวา ทั้งสองคนได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสวน (เอเดน) ที่พระองค์ได้สร้างไว้ ทั้งสองได้ทำ ผิดกฎ ของสวรรค์ จึงถูกเนรเทศลงมาใช้กรรมอยู่ในโลกจนกระทั่งมีลูกหลานสืบเชื้อสายมาจนถึงทุกวันนี้



กล่าวถึงตำนาน      ที่ตั้งของชนเผ่ากะเหรี่ยง ตั้งอยู่ที่ภูเขา "ทอทีปล่อก่อ" มีผู้เฒ่า "เทาะแมป่า" เป็นหัวหน้า หมู่บ้านสืบเชื่อสายมาจนลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง เมื่อที่ทำกินไม่พอเทาะแมป่าจึงพาลูกหลานอพยพย้ายถิ่นฐาน ระหว่างการเดินทางว่ากันว่าเทาะแมป่าเดินเร็วมากลูกหลานพากันหยุดพัก เทาะแมป่าไม่สนใจลูกหลาน พยายามที่จะเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆ จนมาหยุดตามที่ต่างๆ แถบแถวลุ่มน้ำสาละวินบ้าง ลุ่มน้ำอิระวดีบ้าง กระทั้งสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ จนมาถึงทุกวันนี้มีกะเหรี่ยง อาศัยอยู่กระจัดกระจาย ทั่วไปในเขตพม่า ตลอดจนในเขตภาคเหนือ และตะวันออกของประเทศไทย เอกสารบางชนิดระบุว่าคนกระเหรี่ยงอาศัยอยู่ในตะวันออกเฉียงไต้ของประเทศจีน เมื่อถูกขับไล่หนี ลงมาตั้งหลักในระว่างกลางเขตพม่ากับมอญ ตอนหลังถูกพม่าบีบ ต้องอพยพอยู่บนภูเขา เอกสารบางชิ้นระบุว่าคนกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยล้วนมาจากพม่าทั้งสิ้น เพียงแต่ ไม่มีเอกสารยืนยันว่าเข้ามาอยู่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บ้างก็ว่าในดินแดนล้านนา หรือก่อนโยนกด้วยซ้ำ นั้นหมายถึงการกำเนิดเมืองเชียงใหม่

การแต่งกาย





หญิงสาวสวมชุดขาว
หนุ่มเสื้อแดงสถานภาพโสด
แม่เฒ่ากะเหรี่ยงสะกอ
สมาชิกกะเหรี่ยงสะกอ บ. ห้วยขม

กะเหรี่ยงในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กะเหรียงสะกอ กะเหรี่ยงโป และ อีก 2 กลุ่ม คือคะยา หรือบะเว และตองสู หรือพะโอ กะเหรี่ยงกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้มีวัตนธรรมคล้ายคลึงกัน แต่การแต่งกายของแต่ละกลุ่มมีลักษณะเฉพาะของตนเองที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้น ลักษณะการแต่งกายจึงเป็นส่วนหนึ่ง ที่สามารถบ่งชี้ให้เห็นได้ชัดเจนถึงเอกลักษณ์ของกะเหรี่ยงแต่ละที่ แต่ละกลุ่ม

ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัด กาญจนบุรี ก็มีลวดลายตกแต่งเสื้อผ้าแตกต่างจากภาคเหนือ อย่างเชียงรายที่มีการนำแฟชั่นใหม่ ๆ มาทำซึ่งมีลักษณะที่แปลก และแวกแนวออกไป เช่น ทำผ้าปูโต๊ะที่มีลวดลายใหม่ ๆ ที่ประยุกต์ และมีลายปักแบบลายไทย บ้างก็ทำสะไบ เพื่อขายออกยังมีลูกเล่นลวดลายอื่น ๆ ที่เพิ่มอีกมากมายซึ่งเป็นไปตามยุคสมัย และการพัฒนาของเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามกลุ่มกะเหรี่ยงสะกอ และโปในทุกจังหวัดของประเทศไทย ยังคงรักษาลักษณะร่วมที่แสดงสถานะของหญิงสาว และหญิงแม่เรือน เช่นเดียวกัน คือ หญิงทุกวัยที่ยังไม่ได้แต่งงาน ต้องสวมชุดยาวสีขาว (เช ควา) เมื่อแต่งงานแล้วจะต้องเปลี่ยนมาเป็นสวมใส่เสื้อสีดำ หรือที่เรียกว่า "เช โม่ ซู" และผ้าถุงคนละท่อนเท่านั้น ห้ามกลับไปสวมใส่ชุดยาวสีขาวอีก ส่วนผู้ชายทั้งกลุ่มโป และสะกอแถบภาคเหนือมักสวมกางเกงสีดำ และสีน้ำเงิน หรือกรมท่า ในขณะที่แถบจังหวัดตาก และอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มักสวมโสร่ง ลักษณะเสื้อผู้ชายวัยหนุ่มใช้สีแดงทุกกลุ่ม แต่มีลวดลายมากน้อย ต่างกัน การแต่งกายในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีปีใหม่ พิธีแต่งงาน เน้นสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ จะเห็นชัดว่าชายหนุ่ม และหญิงสาวจะพิถีพิถันแต่งกายสวยงามเป็นพิเศษ


อ้างอิง.http://karen.hilltribe.org/thai/karen-history.php..


ภาคผนวก

โครงงาน


แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี (3
3101)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
 2555
----------------------------------------------------
ชื่อโครงงาน          การสร้างเว็บบล็อก ( Web Blog) Learn & Know - Show & Share
เรื่อง                       ภาษากะเหรี่ยงเบื่องต้น                                                                                                     .
2. ประเภทของโครงงาน  (เลือก 1 โครงงาน)
               
þ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
               
q โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
               
q โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
                q โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
               
q โครงงานพัฒนาเกม
3. ชื่อ สกุลผู้เสนอโครงงาน  
               
1. นาย   ประกิต                                                 ชั้น         ม.6/1      เลขที่      4
                2. นาย   สุทัศน์  ฟ้าอร่ามศรี                             ชั้น         ม.6/1      เลขที่      5    .
4. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน
                นางสาวธัญชนก    คำวินิจ                                                ตำแหน่ง   ครู

หลักการและเหตุผล
                เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
                ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข  สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
                อินเทอร์เน็ตก็มีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก  เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม  อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด  หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์
          ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ  การศึกษา  ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
                ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่าง ๆ มากมาย การอยู่รวมเป็นสังคมของมนุษย์ทำให้ต้องสื่อสารถึงกัน ต้องติดต่อและทำงานหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันสมองของเราต้องจดจำสิ่งต่าง ๆ ไว้มากมาย ต้องจดจำรายชื่อผู้ที่เราเกี่ยวข้องด้วย จดจำข้อมูลต่าง ๆ ไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง สังคมจึงต้องการความเป็นระบบที่มีรูปแบบชัดเจน เช่น การกำหนดเลขบ้าน ชื่อถนน อำเภอ จังหวัด ทำให้สามารถติดต่อส่งจดหมายถึงกันได้ เลขบ้านเป็นสารสนเทศอย่างหนึ่งที่ใช้งานกันอยู่เพื่อให้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นระบบมากขึ้น จึงมีการจัดการสารสนเทศเหล่านั้นในลักษณะเชิงระบบ เช่น ระบบทะเบียนราษฎร์ มีการใช้แลขประจำตัวประชาชน ซึ่งเป็นเลขรหัส 13 ตัว แต่ละตัวจะมีควาหมายเพื่อใช้ในการตรวจสอบ เช่น แบ่งตามประเภท ตามถิ่นที่อยู่ การเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลก็ต้องมีการลงทะเบียน การสร้างเวชระเบียน ระบบเสียภาษีก็มีการสร้างรหัสประจำตัวผู้เสียภาษี นอกจากนี้มีการจดทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนการค้า ทะเบียนโรงงาน ฯลฯ
                สื่อสังคม (Social Media) มีความสำคัญ ทั้งในการใช้เพื่อหาข้อมูลข่าวสาร หรือ การใช้เพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมือง สื่อสังคมที่นิยมใช้มากที่สุด คงหนีไม่พ้นสื่อสังคมที่เรียกว่า Facebook และ Twitter ซึ่งถือเป็นผู้ให้บริการสื่อสังคมชั้นนำในระดับโลก รูปแบบการให้บริการสื่อสังคมของผู้ให้บริการหลัก ๆ ทุกรายจะเน้นการนำเอาเทคโนโลยีเป็นสื่อที่ตอบสนองการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship) ซึ่งรูปแบบการให้บริการจะเป็นการให้บริการการเผยแพร่ข้อความ ข่าวสาร ภาพ และ สื่อต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ พร้อมทั้งมีระบบเชื่อมโยงเครือข่ายผู้สนใจประกอบกันกับส่วนการเผยแพร่ ทำให้เป็นสื่อที่มีกลุ่มทางสังคมประกบติดอยู่ด้วยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ คือ
                1.กลุ่มเว็บไซต์เพื่อการสื่อสารแบบเครือข่ายโดยตรง ที่เรียกว่า สื่อเครือข่ายสังคม (Social Networking Media) เช่น Facebook, Windows Live Spaces, Hi5
                2.กลุ่มเว็บไซต์แสดงข้อความ(Blogs) ที่เป็นเว็บไซต์บทความทั่วไปที่มีการโต้ตอบ แลกเปลี่ยนให้ความเห็นกันได้ เช่น Blogger, WordPress และมีกลุ่มเว็บไซต์ประเภทนี้ แต่แตกเป็นประเภทย่อย ๆ แยกออกมาเช่น เว็บไซต์แสดงข้อความสั้น (Micro-blogging) อย่าง Twitter
                3.กลุ่มเว็บไซต์มัลติมีเดียที่มีภาพ เสียง คลิป ไฟล์ต่าง ๆ ขึ้น Upload และแบ่งปันกัน (Share) เช่น YouTube, slideshare, Flickr, Photobucket, Picasa
                4.กลุ่มเว็บไซต์เพื่อความร่วมมือเฉพาะแบบ เช่น สารานุกรมออนไลน์ Wikipedia
                ในบรรดาเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ    เว็บบล็อกเป็นเครื่องมือสำคัญที่นิยมนำไปใช้ในการจัดการความรู้ เนื่องจากมีลักษณะที่เป็นเหมือนบันทึกหรือไดเรกทอรี่ในการจัดเก็บข้อความ ทำให้กลายเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้สำหรับการจัดการความรู้ เพราะสะดวกและง่ายต่อการใช้งานอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันก็มีเว็บบล็อกที่จัดทำให้บริการฟรีอยู่มากมาย ยิ่งส่งเสริมให้ใช้ในการจัดการความรู้ยิ่งขึ้นเว็บบล็อกเป็นเทคโนโลยีที่นิยมสำหรับการจัดการความรู้ เพราะการจัดการความรู้ต้องการเครื่องมือสำหรับการบันทึกและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                เนื่องจากในโรงเรียนสบเมยวิทยาคมมีเด็กนักเรียนมาจากหลายที่หลายแห่งภาษาที่ใช้ในการสื่อสารนั้นก็แตกต่างกันออกไปส่วนมากนักเรียนที่ลงมาเรียนหนังสือจะเป็นคนกะเหรี่ยงและพูดภาษากะเหรี่ยงกันแต่พวกเขาเหล่านี้จะเขียนภาษาของตัวเองไม่ได้และภาษาของกะเหรี่ยงก็เป็นจุดเด่นที่มีคนสนใจอยากจะพูดเป็นและเขียนเป็นเพื่อให้เกิดการถ่ายถอดภาษาให้คนที่สนใจและคนที่อยากเรียนรู้อ่านเป็นเขียนเป็นจึงนำการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้และความต้องการของการศึกษาในอนาคต โดยใช้สื่อผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นการศึกษารูปแบบใหม่เพื่อเปิดพื้นที่เรียนรู้สนับสนุนการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาแบบใหม่จึงได้ศึกษาในเรื่องของเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับกะเหรี่ยงกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม คือกะเหรี่ยงสะกอร์ กะเหรี่ยงโปว กะเหรี่ยงคะยา กะเหรี่ยงตองสูหรือตองตู นอกจากนี้ยังมีกะเหรี่ยงกลุ่มเล็ก ๆ อีก ๒ กลุ่ม คือปาดอง (กะเหรี่ยงคอยาว)กะยอ (กะเหรี่ยงหูยาวโดยนำมาเสนอในรูปแบบเทศโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อนำไปสู่การเรียนภาษาของชนเผ่าเรื่องที่นำมาเสนอนั้นเป็นความสนใจส่วนตัวที่อยากจะศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับภาษากะเหรี่ยงสกอร์ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาที่ใช้และตัวหนังสือรวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อในกลุ่มชนเผ่ากะเหรี่ยงสกอร์
                ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้มีความคิดที่จะนำเอารูปแบบของ WebBlog ด้วยเว็บไซต์ Wordpress  มาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษากะเหรี่ยง เพื่อศึกษา เผยแพร่ความรู้ดังกล่าวสู่ผู้สนใจต่อไป

วัตถุประสงค์1.  เพื่อศึกษาและพัฒนาการสร้างเว็บบล็อก ( Web Blog) Learn & Know - Show & Share ด้วย Wordpress  เรื่องภาษากะเหรี่ยงสกอร์2.  เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเทศโนโลยีสารสนเทศกับการประยุกษ์ใช้เพื่อเผยแพร่ภาษากะเหรี่ยงสกอร์โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต3. เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครูเพื่อนและผู้สนใจทั่วไป4.  เพื่อเปิดโอกาศให้ผู้ที่อยากเรียนรู้ภาษากะเหรี่ยงรวมทั้งวิถีชีวิตกะเหรี่ยงได้เข้ามาเรียนรู้ร่วมกันและพูดคุยกันได้5. เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่ากะเหรี่ยง               
 หลักการและทฤษฎี

                เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
                เนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
                มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
                จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
                ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
                สรุป Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
                เว็บบล็อกสามารถนำไปใช้ในการจัดการความรู้ได้ในทุกระดับ  เฮน และเบค (Hain and Beck , 2008)  ได้กล่าวถึงการออกแบบบทเรียนโดยการใช้เว็บบล็อกในระดับอุดมศึกษาถูกมองว่าเว็บบล็อกเป็นเครื่องมือที่มีผลต่อการเรียนรู้      เพราะเว็บบล็อกเป็นส่วนหนึ่งของยุคเว็บ 2.0  และผู้ใช้สามารถเข้าร่วมในการจัดการเนื้อหาโดยสามารถใช้เครื่องมือและวิธีการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ  ถ่ายโอนความรู้ภายในตัวของเขาซึ่งกระบวนการในการเรียนรู้ที่เกิดจากการใช้เว็บบล็อกจะมีใน 2 ลักษณะคือ การเรียนรู้แบบรายบุคคลที่มีผลเกิดจากการมีส่วนในเว็บบล็อก  กับการเรียนรู้จากการโต้ตอบหลายคน  อันเป็นผลจากการมีปฏิบัติสัมพันธ์การอภิปรายภายในกลุ่มโดยเฉพาะเรื่องมีความสนใจร่วมกัน      
                 ขณะที่ความเห็นของนามวอร์และเรสกู (Namwar and Restgoo, 2008)    ได้กล่าวถึงเหตุผลที่การศึกษาในระดับอุดมศึกษา      มีการนำเอาเว็บบล็อกมาเป็นกระบวนการหนึ่งในการเรียนรู้    เว็บบล็อกสามารถมานำใช้งานได้เหมือนการสอนปกติเหตุที่มีการนำเว็บบล็อกมาใช้ในสถาบันอุดมศึกษาเนื่องจากง่ายต่อการเรียนรู้    และมีการเพิ่มเติมข้อมูลได้อย่างรวดเร็วสามารถนำไปใช้ในการเรียนแบบร่วมมือ    และนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ได้เป็นอย่างดี    
                 ขณะที่การศึกษาของคอสต้า (Costa, 2007)  ที่ได้ศึกษาการใช้เว็บบล็อกในการพัฒนาวิชาชีพ โดยนำเว็บบล็อกไปช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ในที่ทำงานของห้องสมุด  พบว่า จากการประเมินผลการนำเว็บบล็อกไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิชาชีพแสดงให้เห็นว่าการนำเว็บบล็อกมาใช้ฝึกปฏิบัติในการวิเคราะห์ข้อมูลและวรรณคดีในห้องสมุดทำให้เกิดผลการเรียนรู้ขึ้นในขณะทำงาน   โดยแสดงให้เห็นด้วยว่าการจัดการความรู้และความสามารถทางด้านสารสนเทศสามารถเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติโดยการใช้เว็บบล็อกผลการปฏิบัติในโครงการ  ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดการเรียนแบบทีมขึ้นในขณะปฏิบัติงาน
                ประเภทและเว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก Blog
                บล็อกมีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีข้อมูลที่แตกต่างกันไปทั้งผู้เขียนและผู้เข้าชม โดยบล็อกจะเน้นไปที่เรื่องต่างๆ เช่น learner blogs, political blogs, travel blogs, fashion blogs, project blogs,legal blogs และอื่นๆบล็อกที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ใช่มีเพียงแค่บล็อกที่เป็นตัวหนังสือและรูปภาพเท่านั้น หรือ มีแค่ออนไลน์ไดอารี่ เราแบ่งบล็อกออกได้ ดังต่อไปนี้
1. แบ่งตามลักษณะของมีเดียที่มีในบล็อกได้แก่
1.1. Linklog บล็อกแบบเป็นบล็อกรุ่นแรก ๆ ที่รวมลิ๊งก์ที่เจ้าของบล็อกสนใจเอาไว้ แม้ว่าจะบล็อกแบบนี้จะเป็นการรวมลิ๊งก์เท่านั้น แต่ก็ไม่เรียงเหมือนว็บไดเร็กทอรี่ เพราะเจ้าของบล็อกจะโพสต์ลิ๊งก์ของเขา 1 – 2 ลิ๊งก์ต่อโพสต์เท่านั้น
1.2 Photoblog  บล็อกประเภทนี้เน้นโพสต์ภาพถ่ายที่เจ้าของบล็อกอยากนำเสนอ และมักจะไม่เน้นเขียนข้อความมากนัก
1.3. Vlog ย่อมาจาก Videoblog เป็นบล็อกที่รวมวิดีโอคลิปไว้ในบล็อก Vlog เป็นบล็อกที่เรียกได้ว่าเป็นบล็อกที่นิยมทำกันมากในอนาคต เพราะการเจริญเติบโตของไฮสปีด อินเตอร์เน็ต หรือ อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ ที่ทำให้การถ่ายทอดเสียง ภาพเคลื่อนไหว movie
2.แบ่งตามประเภทเนื้อหา ได้แก่
2.1 บล็อกส่วนตัว(Personal Blog) นำแสนอความคิดเห็น กิจวัตรประจำวันของเจ้าของบล็อกเป็นหลัก
2.2 บล็อกข่าว(News Blog) บล็อกที่นำเสนอข่าวเป็นหลัก
2.3 บล็อกกลุ่ม(Collaborative Blog) เป็นบล็อกที่เขียนกันเป็นกลุ่ม เช่น blognone.com
2.4 บล็อกการเมือง(Politic Blog) ว่าด้วยเรื่องการเมืองล้วน ๆ
2.5 บล็อกเพื่อสิ่งแวดล้อม(Environment Blog) พูดถึงเรื่องราวของธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม
2.6 มีเดียบล็อก(Media Blog) เป็นบล็อกที่วิเคราะห์สื่อต่างๆ สารคดีและสิ่งที่เกี่ยวกับสื่อ เช่น oknation.net/blog/black ของสุทธิชัย หยุ่น
2.7 บล็อกบันเทิง(Entertainment Blog) บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวบันเทิงทั้งทางจอแก้ว และจอเงิน เรื่องซุบซุดารา กองถ่าย ฯลฯ
2.8 บล็อกเพื่อการศึกษา(Educational Blog) ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักจะใช้บล็อกเป็นสื่อในการสอนหรือ แลกเปลี่ยนความคิดกัน
2.9 ติวเตอร์บล็อก(Tutorial Blog) เป็นบล็อกที่นำเสนอวิธีการต่าง
3.แบ่งตามรูปแบบของเนื้อหาเฉพาะที่เห็นเด่นชัด
3.1 Filter Blog เป็นบล็อกที่ผู้จัดทำ จะใช้สำหรับนำเสนอแหล่งข้อมูลที่ตนสนใจ (เว็บเพจหรือเว็บไซต์) โดยปกติมักจะเป็นข่าว บทความ หรือความคิดเห็นของบุคคลในวงการที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ อาจเรียกได้ว่า เป็น บล็อก “Bookmark” หรือ มีชื่อเฉพาะ ว่า Social Bookmarkบล็อกลักษณะนี้ จะนำเสนอแค่หัวข้อเรื่อง และ URL ของเว็บเพจหรือเว็บไซต์ บางทีอาจเพิ่มคำอธิบายเว็บเพจหรือเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ด้วย และบางที่อาจจะสามารถเพิ่มความคิดเห็นของผู้จัดทำบล็อกได้อีกด้วย เป็นเหมือนการกลั่นกรองข้อมูลให้ทราบว่าเว็บเพจหรือเว็บไซต์ใดกำลังได้รับความนิยม ซึ่งจะเป็นการช่วยจัดลำดับความน่าเชื่อถือของเว็บเพจหรือเว็บไซต์นั้น ๆ ได้เช่นกัน ตัวอย่างบล็อกลักษณะนี้ได้แก่ http://del.icio.us/ เป็นต้น
3.2 Personal Journal Blog เป็นบล็อกที่ผู้จัดทำ จะใช้สำหรับนำเสนอความคิดเห็นหรือประสบการณ์ของตนเองผ่านข้อเขียน โดยอาจจะมีภาพประกอบ หรือมีการเชื่อมโยงออกไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ เพื่อให้ข้อมูลดูน่าเชื่อถือหรือมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งบล็อกลักษณะนี้ เป็นบล็อกตามความเข้าใจของบุคคลทั่วไป ตัวอย่างบล็อกลักษณะนี้ได้แก่ http://www.exteen.comหรือ http://www.blogger.com เป็นต้น
3.3 Photo Blog เป็นบล็อกที่ใช้สำหรับเก็บภาพ (ภาพถ่าย, ภาพวาด ฯลฯ) และสามารถใส่รายละเอียดของภาพ ใส่คำค้น (tag) ได้ ทำให้การเก็บภาพเป็นระบบและง่ายต่อการค้นหามากขึ้น ตัวอย่างบล็อกลักษณะนี้ได้แก่ http://www.flickr.com เป็นต้น
3.4 Video Blog หรือ เรียกว่า Vlog เป็นบล็อกที่ใช้สำหรับเก็บวีดิทัศน์ส่วนตัว สามารถใส่รายละเอียดของวีดิทัศน์ ใส่คำค้น (tag) ได้ ทำให้การเก็บวีดิทัศน์เป็นระบบและง่ายต่อการค้นหามากขึ้น ตัวอย่างบล็อกลักษณะนี้ได้แก่ http://www.aolvideoblog.com เป็นต้น
3.5 บล็อกผสม มีลักษณะเป็นบล็อกที่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้หลายประเภท ทั้งเก็บรูปภาพ เก็บเพลง เก็บวีดิโอ เก็บลิงค์ (link) ต่าง ๆ หรือบันทึกประจำวัน และใส่ปฏิทินรายการงานที่ต้องทำ ฯลฯ ได้ด้วย ปัจจุบันเป็นบริการที่ได้รับความนิยมสูงมาก โดยมีชื่อเฉพาะด้วย เรียกว่าSocial Network Service ตัวอย่าง Social NetworkingWebsites ซึ่งให้บริการลักษณะนี้ ได้แก่ http://hi5.com หรือ http://multiply.com หรือhttp://spaces.live.com เป็นต้น
                ปัจจุบันมีคนนิยมเขียน Blog เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็มีเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการ Blog จำนวนมากซึ่งมีเว็บไซต์ที่ให้บริการ Blog ฟรีอยู่มากมาย ที่สามารถเลือกสมัครใช้งานได้ตามที่ต้องการตัวอย่างเช่นwindows live space  wordpress    myspace    blogger (ของ google)    bloggang (ของ pantip.com     www.exteen.com   www.mapandy.com www.buddythai.com www.imigg.com      www.5iam.com        www.blogprathai.com         www.ndesignsblog.com www.idatablog.com www.inewblog.com www.onblogme.com  www.freeseoblogs.com  เป็นต้น





ขอบเขตของโครงงาน   
                1.  จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การสร้างเว็บบล็อก ( Web Blog) Learn & Know - Show & Share ด้วย Wordpress    เรื่องภาษากะเหรี่ยง
               
2. วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่
                               
2.1  เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                                2.2 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ www.wordpress.com
                                2.3
เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น www.facebook.com www.hotmail.com  www.google.com
                                2.4 
โปรแกรมตัดต่อและตกแต่งรูปภาพ เช่นAdobe Photoshop CS4 และ PhotoScape2.0

ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน

                                               
ที่
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
เดือนสิงหาคม
เดือนกันยายน
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
1
2
3
4
1
2
 3
 4

1
คิดหัวข้อโครงงาน
ü








2
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล
ü
ü







3
จัดทำโครงร่างเพื่อนำเสนอ

ü







4
ปฏิบัติการจัดทำโครงงาน


ü 






5
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่
1


 ü






6
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่
2



 ü





7
ปรับปรุง ทดสอบ






 ü


6
จัดทำเอกสารรายงานโครงงาน






 ü


8
ประเมินผลงาน







 ü

9
นำเสนอโครงงานผ่านเว็บ blog







 ü


สถานที่ดำเนินงาน

                ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ICT โรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย        จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ   
1.ได้ศึกษาและพัฒนาการสร้างเว็บบล็อก ( Web Blog) Learn & Know - Show & Share ด้วย Wordpress  เรื่องภาษากะเหรี่ยงสกอร์
2.ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเทศโนโลยีสารสนเทศกับการประยุกษ์ใช้เพื่อเผยแพร่ภาษากะเหรี่ยงสกอร์โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
3.สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป
4.เปิดโอกาศให้ผู้ที่อยากเรียนรู้ภาษากะเหรี่ยงรวมทั้งวิถีชีวิตกะเหรี่ยงได้เข้ามาเรียนรู้ร่วมกันและพูดคุยกันได้
5.สามารถอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่ากะเหรี่ยงได้
6.             ได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่มาใช้อย่างมีคุณค่า และสร้างสรรค์

ลงชื่อ..........ประกิต........
(นายประกิต       -                              )
ผู้เสนอโครงงาน


ลงชื่อ.............................................
                                                                            (นางสาวธัญชนก        คำวินิจ)
                                                  ครูที่ปรึกษาโครงงาน
เอกสารอ้างอิง