แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี
(ง33101)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555
----------------------------------------------------
ชื่อโครงงาน การสร้างเว็บบล็อก
( Web Blog) Learn & Know - Show & Share
เรื่อง ภาษากะเหรี่ยงเบื่องต้น .
2. ประเภทของโครงงาน
(เลือก 1 โครงงาน)
þ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
q โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
q โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
q โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
q โครงงานพัฒนาเกม
3. ชื่อ สกุลผู้เสนอโครงงาน
1. นาย ประกิต ชั้น ม.6/1 เลขที่ 4
2. นาย สุทัศน์ ฟ้าอร่ามศรี ชั้น
ม.6/1 เลขที่ 5 .
4. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน
นางสาวธัญชนก คำวินิจ ตำแหน่ง ครู
หลักการและเหตุผล
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology)หมายถึง
อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา
และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล
และการสื่อสาร โทรคมนาคม
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ
อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา
ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ
หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล
และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ
ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ
ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง
เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
อินเทอร์เน็ตก็มีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก
เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน และสิ่งต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม
อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด
หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง
ๆ ของหนังสือพิมพ์
ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก
ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ การศึกษา
ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่าง ๆ มากมาย
การอยู่รวมเป็นสังคมของมนุษย์ทำให้ต้องสื่อสารถึงกัน
ต้องติดต่อและทำงานหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันสมองของเราต้องจดจำสิ่งต่าง ๆ
ไว้มากมาย ต้องจดจำรายชื่อผู้ที่เราเกี่ยวข้องด้วย จดจำข้อมูลต่าง ๆ
ไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง สังคมจึงต้องการความเป็นระบบที่มีรูปแบบชัดเจน เช่น
การกำหนดเลขบ้าน ชื่อถนน อำเภอ จังหวัด ทำให้สามารถติดต่อส่งจดหมายถึงกันได้
เลขบ้านเป็นสารสนเทศอย่างหนึ่งที่ใช้งานกันอยู่เพื่อให้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นระบบมากขึ้น
จึงมีการจัดการสารสนเทศเหล่านั้นในลักษณะเชิงระบบ เช่น ระบบทะเบียนราษฎร์
มีการใช้แลขประจำตัวประชาชน ซึ่งเป็นเลขรหัส 13 ตัว แต่ละตัวจะมีควาหมายเพื่อใช้ในการตรวจสอบ เช่น แบ่งตามประเภท ตามถิ่นที่อยู่
การเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลก็ต้องมีการลงทะเบียน การสร้างเวชระเบียน
ระบบเสียภาษีก็มีการสร้างรหัสประจำตัวผู้เสียภาษี นอกจากนี้มีการจดทะเบียนรถยนต์
ทะเบียนการค้า ทะเบียนโรงงาน ฯลฯ
สื่อสังคม (Social Media) มีความสำคัญ ทั้งในการใช้เพื่อหาข้อมูลข่าวสาร
หรือ การใช้เพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมือง สื่อสังคมที่นิยมใช้มากที่สุด
คงหนีไม่พ้นสื่อสังคมที่เรียกว่า Facebook และ Twitter
ซึ่งถือเป็นผู้ให้บริการสื่อสังคมชั้นนำในระดับโลก
รูปแบบการให้บริการสื่อสังคมของผู้ให้บริการหลัก ๆ ทุกรายจะเน้นการนำเอาเทคโนโลยีเป็นสื่อที่ตอบสนองการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
(Interpersonal Relationship) ซึ่งรูปแบบการให้บริการจะเป็นการให้บริการการเผยแพร่ข้อความ
ข่าวสาร ภาพ และ สื่อต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์
พร้อมทั้งมีระบบเชื่อมโยงเครือข่ายผู้สนใจประกอบกันกับส่วนการเผยแพร่
ทำให้เป็นสื่อที่มีกลุ่มทางสังคมประกบติดอยู่ด้วยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ คือ
1.กลุ่มเว็บไซต์เพื่อการสื่อสารแบบเครือข่ายโดยตรง ที่เรียกว่า
สื่อเครือข่ายสังคม (Social Networking Media) เช่น Facebook,
Windows Live Spaces, Hi5
2.กลุ่มเว็บไซต์แสดงข้อความ(Blogs) ที่เป็นเว็บไซต์บทความทั่วไปที่มีการโต้ตอบ
แลกเปลี่ยนให้ความเห็นกันได้ เช่น Blogger, WordPress และมีกลุ่มเว็บไซต์ประเภทนี้
แต่แตกเป็นประเภทย่อย ๆ แยกออกมาเช่น เว็บไซต์แสดงข้อความสั้น (Micro-blogging)
อย่าง Twitter
3.กลุ่มเว็บไซต์มัลติมีเดียที่มีภาพ เสียง คลิป ไฟล์ต่าง ๆ ขึ้น Upload
และแบ่งปันกัน (Share) เช่น YouTube,
slideshare, Flickr, Photobucket, Picasa
4.กลุ่มเว็บไซต์เพื่อความร่วมมือเฉพาะแบบ เช่น สารานุกรมออนไลน์ Wikipedia
ในบรรดาเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
เว็บบล็อกเป็นเครื่องมือสำคัญที่นิยมนำไปใช้ในการจัดการความรู้
เนื่องจากมีลักษณะที่เป็นเหมือนบันทึกหรือไดเรกทอรี่ในการจัดเก็บข้อความ
ทำให้กลายเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้สำหรับการจัดการความรู้
เพราะสะดวกและง่ายต่อการใช้งานอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันก็มีเว็บบล็อกที่จัดทำให้บริการฟรีอยู่มากมาย
ยิ่งส่งเสริมให้ใช้ในการจัดการความรู้ยิ่งขึ้นเว็บบล็อกเป็นเทคโนโลยีที่นิยมสำหรับการจัดการความรู้
เพราะการจัดการความรู้ต้องการเครื่องมือสำหรับการบันทึกและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เนื่องจากในโรงเรียนสบเมยวิทยาคมมีเด็กนักเรียนมาจากหลายที่หลายแห่งภาษาที่ใช้ในการสื่อสารนั้นก็แตกต่างกันออกไปส่วนมากนักเรียนที่ลงมาเรียนหนังสือจะเป็นคนกะเหรี่ยงและพูดภาษากะเหรี่ยงกันแต่พวกเขาเหล่านี้จะเขียนภาษาของตัวเองไม่ได้และภาษาของกะเหรี่ยงก็เป็นจุดเด่นที่มีคนสนใจอยากจะพูดเป็นและเขียนเป็นเพื่อให้เกิดการถ่ายถอดภาษาให้คนที่สนใจและคนที่อยากเรียนรู้อ่านเป็นเขียนเป็นจึงนำการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้และความต้องการของการศึกษาในอนาคต
โดยใช้สื่อผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นการศึกษารูปแบบใหม่เพื่อเปิดพื้นที่เรียนรู้สนับสนุนการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาแบบใหม่จึงได้ศึกษาในเรื่องของเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับกะเหรี่ยงกลุ่มต่าง
ๆ ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม คือกะเหรี่ยงสะกอร์ กะเหรี่ยงโปว กะเหรี่ยงคะยา
กะเหรี่ยงตองสูหรือตองตู นอกจากนี้ยังมีกะเหรี่ยงกลุ่มเล็ก ๆ อีก ๒ กลุ่ม คือปาดอง
(กะเหรี่ยงคอยาว)กะยอ (กะเหรี่ยงหูยาวโดยนำมาเสนอในรูปแบบเทศโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อนำไปสู่การเรียนภาษาของชนเผ่าเรื่องที่นำมาเสนอนั้นเป็นความสนใจส่วนตัวที่อยากจะศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับภาษากะเหรี่ยงสกอร์ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาที่ใช้และตัวหนังสือรวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อในกลุ่มชนเผ่ากะเหรี่ยงสกอร์
ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้มีความคิดที่จะนำเอารูปแบบของ WebBlog ด้วยเว็บไซต์
Wordpress มาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษากะเหรี่ยง
เพื่อศึกษา เผยแพร่ความรู้ดังกล่าวสู่ผู้สนใจต่อไป
วัตถุประสงค์1. เพื่อศึกษาและพัฒนาการสร้างเว็บบล็อก
( Web Blog
) Learn &
Know - Show & Share
ด้วย Wordpress
เรื่องภาษากะเหรี่ยงสกอร์2. เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเทศโนโลยีสารสนเทศกับการประยุกษ์ใช้เพื่อเผยแพร่ภาษากะเหรี่ยงสกอร์โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต3. เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครูเพื่อนและผู้สนใจทั่วไป4. เพื่อเปิดโอกาศให้ผู้ที่อยากเรียนรู้ภาษากะเหรี่ยงรวมทั้งวิถีชีวิตกะเหรี่ยงได้เข้ามาเรียนรู้ร่วมกันและพูดคุยกันได้5. เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่ากะเหรี่ยง
หลักการและทฤษฎี
เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง
ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน
ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ
ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้
จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล
สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน
ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก"
ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า
"บล็อกเกอร์"
เนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง
เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น
โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก
จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง
จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน
บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ
หรือครอบครัวตนเอง
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า
Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น
เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท
ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่
หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ
เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้
หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย
ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด
หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ
Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง
ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก
และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment
ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม
คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ
Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้
มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย
เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
สรุป Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา
เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี
link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
เว็บบล็อกสามารถนำไปใช้ในการจัดการความรู้ได้ในทุกระดับ เฮน และเบค (Hain and Beck , 2008) ได้กล่าวถึงการออกแบบบทเรียนโดยการใช้เว็บบล็อกในระดับอุดมศึกษาถูกมองว่าเว็บบล็อกเป็นเครื่องมือที่มีผลต่อการเรียนรู้ เพราะเว็บบล็อกเป็นส่วนหนึ่งของยุคเว็บ 2.0 และผู้ใช้สามารถเข้าร่วมในการจัดการเนื้อหาโดยสามารถใช้เครื่องมือและวิธีการนำเสนอข้อมูลต่าง
ๆ ถ่ายโอนความรู้ภายในตัวของเขาซึ่งกระบวนการในการเรียนรู้ที่เกิดจากการใช้เว็บบล็อกจะมีใน
2 ลักษณะคือ
การเรียนรู้แบบรายบุคคลที่มีผลเกิดจากการมีส่วนในเว็บบล็อก กับการเรียนรู้จากการโต้ตอบหลายคน
อันเป็นผลจากการมีปฏิบัติสัมพันธ์การอภิปรายภายในกลุ่มโดยเฉพาะเรื่องมีความสนใจร่วมกัน
ขณะที่ความเห็นของนามวอร์และเรสกู (Namwar and Restgoo, 2008) ได้กล่าวถึงเหตุผลที่การศึกษาในระดับอุดมศึกษา
มีการนำเอาเว็บบล็อกมาเป็นกระบวนการหนึ่งในการเรียนรู้
เว็บบล็อกสามารถมานำใช้งานได้เหมือนการสอนปกติเหตุที่มีการนำเว็บบล็อกมาใช้ในสถาบันอุดมศึกษาเนื่องจากง่ายต่อการเรียนรู้
และมีการเพิ่มเติมข้อมูลได้อย่างรวดเร็วสามารถนำไปใช้ในการเรียนแบบร่วมมือ และนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ได้เป็นอย่างดี
ขณะที่การศึกษาของคอสต้า (Costa, 2007) ที่ได้ศึกษาการใช้เว็บบล็อกในการพัฒนาวิชาชีพ
โดยนำเว็บบล็อกไปช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ในที่ทำงานของห้องสมุด พบว่า
จากการประเมินผลการนำเว็บบล็อกไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิชาชีพแสดงให้เห็นว่าการนำเว็บบล็อกมาใช้ฝึกปฏิบัติในการวิเคราะห์ข้อมูลและวรรณคดีในห้องสมุดทำให้เกิดผลการเรียนรู้ขึ้นในขณะทำงาน
โดยแสดงให้เห็นด้วยว่าการจัดการความรู้และความสามารถทางด้านสารสนเทศสามารถเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติโดยการใช้เว็บบล็อกผลการปฏิบัติในโครงการ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดการเรียนแบบทีมขึ้นในขณะปฏิบัติงาน
ประเภทและเว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก Blog
บล็อกมีด้วยกันหลายชนิด
แต่ละชนิดมีข้อมูลที่แตกต่างกันไปทั้งผู้เขียนและผู้เข้าชม
โดยบล็อกจะเน้นไปที่เรื่องต่างๆ เช่น learner blogs,
political blogs, travel blogs, fashion blogs, project blogs,legal blogs และอื่นๆบล็อกที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
ใช่มีเพียงแค่บล็อกที่เป็นตัวหนังสือและรูปภาพเท่านั้น หรือ มีแค่ออนไลน์ไดอารี่
เราแบ่งบล็อกออกได้ ดังต่อไปนี้
1. แบ่งตามลักษณะของมีเดียที่มีในบล็อกได้แก่
1.1. Linklog บล็อกแบบเป็นบล็อกรุ่นแรก ๆ
ที่รวมลิ๊งก์ที่เจ้าของบล็อกสนใจเอาไว้
แม้ว่าจะบล็อกแบบนี้จะเป็นการรวมลิ๊งก์เท่านั้น แต่ก็ไม่เรียงเหมือนว็บไดเร็กทอรี่
เพราะเจ้าของบล็อกจะโพสต์ลิ๊งก์ของเขา 1 – 2
ลิ๊งก์ต่อโพสต์เท่านั้น
1.2 Photoblog บล็อกประเภทนี้เน้นโพสต์ภาพถ่ายที่เจ้าของบล็อกอยากนำเสนอ
และมักจะไม่เน้นเขียนข้อความมากนัก
1.3. Vlog ย่อมาจาก Videoblog เป็นบล็อกที่รวมวิดีโอคลิปไว้ในบล็อก
Vlog เป็นบล็อกที่เรียกได้ว่าเป็นบล็อกที่นิยมทำกันมากในอนาคต
เพราะการเจริญเติบโตของไฮสปีด อินเตอร์เน็ต หรือ อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์
ที่ทำให้การถ่ายทอดเสียง ภาพเคลื่อนไหว movie
2.แบ่งตามประเภทเนื้อหา ได้แก่
2.1 บล็อกส่วนตัว(Personal Blog) นำแสนอความคิดเห็น
กิจวัตรประจำวันของเจ้าของบล็อกเป็นหลัก
2.2 บล็อกข่าว(News Blog) บล็อกที่นำเสนอข่าวเป็นหลัก
2.3 บล็อกกลุ่ม(Collaborative Blog) เป็นบล็อกที่เขียนกันเป็นกลุ่ม เช่น blognone.com
2.4 บล็อกการเมือง(Politic Blog) ว่าด้วยเรื่องการเมืองล้วน
ๆ
2.5 บล็อกเพื่อสิ่งแวดล้อม(Environment Blog) พูดถึงเรื่องราวของธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม
2.6 มีเดียบล็อก(Media Blog) เป็นบล็อกที่วิเคราะห์สื่อต่างๆ
สารคดีและสิ่งที่เกี่ยวกับสื่อ เช่น oknation.net/blog/black ของสุทธิชัย หยุ่น
2.7 บล็อกบันเทิง(Entertainment Blog) บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวบันเทิงทั้งทางจอแก้ว และจอเงิน เรื่องซุบซุดารา
กองถ่าย ฯลฯ
2.8 บล็อกเพื่อการศึกษา(Educational Blog) ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักจะใช้บล็อกเป็นสื่อในการสอนหรือ
แลกเปลี่ยนความคิดกัน
2.9 ติวเตอร์บล็อก(Tutorial Blog) เป็นบล็อกที่นำเสนอวิธีการต่าง
3.แบ่งตามรูปแบบของเนื้อหาเฉพาะที่เห็นเด่นชัด
3.1 Filter Blog เป็นบล็อกที่ผู้จัดทำ
จะใช้สำหรับนำเสนอแหล่งข้อมูลที่ตนสนใจ (เว็บเพจหรือเว็บไซต์)
โดยปกติมักจะเป็นข่าว บทความ
หรือความคิดเห็นของบุคคลในวงการที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ อาจเรียกได้ว่า เป็น
บล็อก “Bookmark” หรือ มีชื่อเฉพาะ ว่า Social
Bookmarkบล็อกลักษณะนี้ จะนำเสนอแค่หัวข้อเรื่อง และ URL ของเว็บเพจหรือเว็บไซต์ บางทีอาจเพิ่มคำอธิบายเว็บเพจหรือเว็บไซต์นั้น ๆ
ได้ด้วย และบางที่อาจจะสามารถเพิ่มความคิดเห็นของผู้จัดทำบล็อกได้อีกด้วย
เป็นเหมือนการกลั่นกรองข้อมูลให้ทราบว่าเว็บเพจหรือเว็บไซต์ใดกำลังได้รับความนิยม
ซึ่งจะเป็นการช่วยจัดลำดับความน่าเชื่อถือของเว็บเพจหรือเว็บไซต์นั้น ๆ ได้เช่นกัน
ตัวอย่างบล็อกลักษณะนี้ได้แก่ http://del.icio.us/ เป็นต้น
3.2 Personal Journal Blog เป็นบล็อกที่ผู้จัดทำ
จะใช้สำหรับนำเสนอความคิดเห็นหรือประสบการณ์ของตนเองผ่านข้อเขียน
โดยอาจจะมีภาพประกอบ หรือมีการเชื่อมโยงออกไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ เพื่อให้ข้อมูลดูน่าเชื่อถือหรือมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ซึ่งบล็อกลักษณะนี้ เป็นบล็อกตามความเข้าใจของบุคคลทั่วไป
ตัวอย่างบล็อกลักษณะนี้ได้แก่ http://www.exteen.comหรือ http://www.blogger.com
เป็นต้น
3.3 Photo Blog เป็นบล็อกที่ใช้สำหรับเก็บภาพ (ภาพถ่าย,
ภาพวาด ฯลฯ) และสามารถใส่รายละเอียดของภาพ ใส่คำค้น (tag) ได้ ทำให้การเก็บภาพเป็นระบบและง่ายต่อการค้นหามากขึ้น
ตัวอย่างบล็อกลักษณะนี้ได้แก่ http://www.flickr.com เป็นต้น
3.4 Video Blog หรือ เรียกว่า Vlog เป็นบล็อกที่ใช้สำหรับเก็บวีดิทัศน์ส่วนตัว สามารถใส่รายละเอียดของวีดิทัศน์
ใส่คำค้น (tag) ได้
ทำให้การเก็บวีดิทัศน์เป็นระบบและง่ายต่อการค้นหามากขึ้น
ตัวอย่างบล็อกลักษณะนี้ได้แก่ http://www.aolvideoblog.com เป็นต้น
3.5 บล็อกผสม มีลักษณะเป็นบล็อกที่สามารถเก็บข้อมูลต่าง
ๆ ได้หลายประเภท ทั้งเก็บรูปภาพ เก็บเพลง เก็บวีดิโอ เก็บลิงค์ (link) ต่าง ๆ หรือบันทึกประจำวัน และใส่ปฏิทินรายการงานที่ต้องทำ ฯลฯ ได้ด้วย
ปัจจุบันเป็นบริการที่ได้รับความนิยมสูงมาก โดยมีชื่อเฉพาะด้วย เรียกว่าSocial
Network Service ตัวอย่าง Social NetworkingWebsites ซึ่งให้บริการลักษณะนี้ ได้แก่ http://hi5.com หรือ http://multiply.com
หรือhttp://spaces.live.com เป็นต้น
ปัจจุบันมีคนนิยมเขียน
Blog เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็มีเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการ Blog
จำนวนมากซึ่งมีเว็บไซต์ที่ให้บริการ Blog ฟรีอยู่มากมาย
ที่สามารถเลือกสมัครใช้งานได้ตามที่ต้องการตัวอย่างเช่นwindows live space wordpress myspace
blogger (ของ google) bloggang (ของ pantip.com www.exteen.com www.mapandy.com www.buddythai.com
www.imigg.com www.5iam.com www.blogprathai.com www.ndesignsblog.com www.idatablog.com
www.inewblog.com www.onblogme.com
www.freeseoblogs.com
เป็นต้น
ขอบเขตของโครงงาน
1. จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์
การสร้างเว็บบล็อก ( Web Blog) Learn & Know - Show & Share ด้วย Wordpress
เรื่องภาษากะเหรี่ยง
2. วัสดุ อุปกรณ์
เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่
2.1
เครื่องคอมพิวเตอร์
พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน
ที่
|
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
ระยะเวลาดำเนินงาน
|
เดือนสิงหาคม
|
เดือนกันยายน
|
สัปดาห์ที่
|
สัปดาห์ที่
|
1
|
2
|
3
|
4
|
1
|
2
|
3
|
4
|
|
1
|
คิดหัวข้อโครงงาน
|
ü
|
|
|
|
|
|
|
|
|
2
|
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล
|
ü
|
ü
|
|
|
|
|
|
|
|
3
|
จัดทำโครงร่างเพื่อนำเสนอ
|
|
ü
|
|
|
|
|
|
|
|
4
|
ปฏิบัติการจัดทำโครงงาน
|
|
|
ü
|
|
|
|
|
|
|
5
|
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่ 1
|
|
|
ü
|
|
|
|
|
|
|
6
|
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่ 2
|
|
|
|
ü
|
|
|
|
|
|
7
|
ปรับปรุง ทดสอบ
|
|
|
|
|
|
|
ü
|
|
|
6
|
จัดทำเอกสารรายงานโครงงาน
|
|
|
|
|
|
|
ü
|
|
|
8
|
ประเมินผลงาน
|
|
|
|
|
|
|
|
ü
|
|
9
|
นำเสนอโครงงานผ่านเว็บ blog
|
|
|
|
|
|
|
|
ü
|
|
สถานที่ดำเนินงาน
ห้องเรียนคอมพิวเตอร์
ICT โรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้ศึกษาและพัฒนาการสร้างเว็บบล็อก
( Web Blog) Learn &
Know - Show & Share ด้วย Wordpress เรื่องภาษากะเหรี่ยงสกอร์
2.ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเทศโนโลยีสารสนเทศกับการประยุกษ์ใช้เพื่อเผยแพร่ภาษากะเหรี่ยงสกอร์โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
3.สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู
เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป
4.เปิดโอกาศให้ผู้ที่อยากเรียนรู้ภาษากะเหรี่ยงรวมทั้งวิถีชีวิตกะเหรี่ยงได้เข้ามาเรียนรู้ร่วมกันและพูดคุยกันได้
5.สามารถอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่ากะเหรี่ยงได้
6.
ได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่มาใช้อย่างมีคุณค่า
และสร้างสรรค์
ลงชื่อ..........ประกิต........
(นายประกิต - )
ผู้เสนอโครงงาน
ลงชื่อ.............................................
(นางสาวธัญชนก คำวินิจ)
ครูที่ปรึกษาโครงงาน
เอกสารอ้างอิง